เชื่อเลยว่าหลายคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้คงมีวัตถุประสงค์บางอย่างสำหรับการเขียนบทความบนเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบทความให้กับเว็บไซต์ตัวเอง เพื่อใช้ในการแบ่งปันความรู้ในอินเตอร์เน็ตโดยไม่แสวงหากำไร บางรายอาจจะสร้างบทความเพื่อใช้สำหรับการประกอบธุรกิจหรือเหตุผลอื่น ๆ ซึ่งการที่จะสร้างบทความบนเว็บไซต์ไม่ว่าเป็นเรื่องอะไรก็ตามแต่ต้องรู้องค์ประกอบในการเขียนบทความ รวมไปถึงประสบการณ์เขียนที่ต้องมีการเก็บสะสมและหาแนวทางการเขียนของตัวเอง ก็เหมือนกับการร้องเพลงที่นักร้องต้องค้นหาโทนเสียงของตัวเอง เพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์และเป็นที่จดจำของผู้คน เมื่อเราเขียนบทความเป็นแล้วในเบื้องต้น ก็ต้องมีการทำ SEO ในหน้าเว็บไซต์ที่เราเขียนบทความ เพื่อให้มีผู้ค้นหาสามารถเข้ามาเยี่ยมชมบนหน้าเว็บไซต์ของเรา หากใครที่ไม่รู้จักว่า SEO มันคืออะไรให้อ่านบทความนี้ให้จบก่อน แล้วค่อยวนกลับมาอ่านโดยการคลิกที่นี่
ถามตัวเอง
แต่ก่อนที่จะไปกันต่อนั้น ให้ลองถามตัวเองว่าตัวเองมีนิสัยรักการอ่านหรือไม่ (เอาง่าย ๆ ชอบอ่านหนังสือหรือไม่) แน่นอนเลยว่าร้อนทั้งร้อยผู้คนส่วนใหญ่ไม่ชอบการอ่าน เพราะว่าคนไทยอ่านหนังสือน้อยกว่า 4 บรรทัดและเป็นเรื่องจริง หากคุณเป็นหนึ่งในนั้นก็คงยากถ้าให้เริ่มต้นเขียนบทความเลย เพราะการเขียนบทความนั้นพื้นฐานสำคัญก็มาจากการอ่านบทความนี้แหละ วิธีแก้ไขทำได้ไม่ยากเพียงแค่คุณเปิดใจแล้วปลูกฝังนิสัยการอ่านให้กับตัวเอง โดยเริ่มจากหาบทความบนอินเตอร์เน็ตในเรื่องที่คุณสนใจ นี้เป็นวิธีเริ่มต้นที่ผู้เขียนบทความมือใหม่สามารถทำได้ง่ายที่สุดในปัจจุบัน อีกทั้งได้ดูแนวทางการเขียนบทความในแต่ละเว็บไซต์ เช่น sanook.com pantip.com kapook.com mthai.co.th เป็นต้น แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบอ่านเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ก็อาจจะง่ายหน่อยในเรื่องของการเขียนบทความ เพราะพื้นฐานของการเป็นผู้เขียนที่ดี ต้องเริ่มจากการอ่าน หรือได้สัมผัสสิ่งนั้นได้ตัวเอง แล้วนำเรื่องราวเหล่านั้นมาถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือ
เข้าสู่การเขียนบทความ
เมื่อเราได้ตอบคำถามตัวเองแล้วคิดว่าตัวเองโอเคกับการเขียนบทความ ต่อไปให้ทำการวางแผนว่าเราจะเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องอะไร โดยกำหนดหัวข้อพร้อมศึกษาเนื้อหามาให้ดี ในเมื่อเราเตรียมพร้อมแล้วทีนี้เรามาเริ่มเข้าสู่การเขียนบทความกัน ในการเขียนบทความบนเว็บไซต์ในความเป็นจริงแล้วเราสามารถเขียนอย่างไรก็ได้ ไม่มีอาจารย์หรือศาสตราจารย์ภาษาไทยคนไหนคอยมานั่งกำชับในเรื่องของหลักภาษา ส่วนใหญ่ที่ผู้เขียนบทความหรือคนสร้าง Content นั้นจะใช้หลักจิตวิทยา การเล่นคำ รวมไปถึงกระแสนิยมที่ผู้คนสนใจ ณ ช่วงเวลาขณะนั้น เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ได้อ่านบทความรู้สึกถูกใจและเป็นประโยชน์จึงทำให้เกิดการแชร์บทความ สิ่งที่ผู้เขียนบทความมือใหม่ต้องศึกษาและเรียนรู้การเขียนบทความมีหัวข้อดังนี้
- องค์ประกอบการเขียนบทความ
- การพาดชื่อบทความให้ดูน่าสนใจ
- รูปแบบบทความ
- การเลือกใช้ฟ้อนต์
- ข้อควรระวังในเรื่องการเขียน
องค์ประกอบการเขียนบทความ
การเขียนบทความบนเว็บไซต์ที่ดีนั้นควรมีองค์ประกอบทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ เกริ่นนำ เนื้อหา บทสรุป ซึ่งถ้าใครที่เคยอ่านบทความของเราเรื่อง “กฎเหล็กของการเขียนคอนเทนส์” (หากใครที่ไม่ได้อ่านเพียงคลิกที่นี่) ได้เขียนไว้แล้วคร่าว ๆ ในบทความนี้มาอธิบายกันละเอียดมากขึ้น องค์ประกอบเหล่านี้ให้นึกถึงวัยเรียนตอนที่ครูสอนเรื่องการเขียนเรียงความ ซึ่งมันสามารถใช้ได้จริง ๆ ทีนี่เรามาดูกันดีกว่าแต่ละส่วนนั้นควรเขียนอย่างไร
เกริ่นนำ
ขึ้นต้นด้วยคำว่าเกริ่นนำหรือบทนำ มันก็คือการจั่วหัวเรื่องให้ผู้อ่านบทความใน 1-2 บรรทัดแรกจูงให้เขาอ่านต่อจนถึงในส่วนเนื้อหา ถ้าเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายขึ้นก็เหมือนกับเกริ่นนำในหนังสือนิยาย ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อเรื่องก็ต้องมีการจั่วหัวเรื่องให้ผู้อ่านเกิดน่าสนใจ ชวนให้ติดตามและอ่านเนื้อเรื่องต่อตั้งแต่ต้นจนจบ การเขียนบทความก็ใช้วิธีเช่นเดียวกับการเขียนนิยาย เพียงแต่่การเกริ่นนำนั้นผู้เขียนต้องจับสายตาผู้อ่านภายใน 2-3 บรรทัดแรก ให้เขานั้นสนใจชวนให้น่าติดตามด้วยการสร้างอารมณ์ กระตุ้นให้มีความรู้สึกอยากอ่านเนื้อหาต่อ ซึ่งแนวการเขียนเกริ่นนำที่เห็นได้ชัดเจนคือการตั้งคำถามเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกสงสัยชวนให้หาคำตอบ หรือการเกริ่นนำด้วยปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อผู้อ่านรู้สึกว่าเขาเองก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกันในชีวิตประจำวัน
เนื้อหา
ในส่วนของเนื้อหาเป็นส่วนที่เราเขียนเนื้อหารายละเอียดบทความทั้งหมดที่อยากจะสื่อถึงผู้อ่าน ในส่วนตรงนี้เราสามารถเขียนเนื้อหาบทความในฉบับตัวเองได้ แต่ก่อนที่ลงมือเขียนนั้นให้คำนึงถึงผู้อ่านเป็นหลัก ไม่ว่าการเรียงลำดับหัวข้อก่อน-หลัง เพื่อลดการสับสนของผู้อ่านรวมทั้งผู้เขียนด้วย อีกทั้งการใช้คำศัพท์และการตีความของผู้อ่านที่ไม่ยากจนเกินไป เพื่อให้ผู้อ่านนั้นเข้าใจในเรื่องที่ผู้เขียนต้องการสื่อถึง
แต่ปัญหาของผู้เขียนบทความมือใหม่ที่พบเจอได้มากในช่วงระยะแรกคือการเขียนวกไปวนมา เมื่อผู้อ่านเข้ามาแล้วเข้าใจและซ้ำกับสิ่งที่เราเข้าใจตั้งแต่แรกแล้ว ทำให้รู้สึกเสียเวลาอ่านจนไม่อยากอ่านในบรรทัดต่อไป และการใช้คำซ้ำคำเปลือง ซึ่งวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านี้คือให้เพื่อนหรือคนรู้จักมาอ่านบทความของเราแล้วขอคำแนะนำว่าบทความของตนเองนั้นมีข้อปรับปรุงหรือไม่ ควรแก้ไขอย่างไร เพื่อเป็นการตรวจทานก่อนนำบทความไปเผยแพร่บนเว็บไซต์ต่อไป
นอกเหนือจากนี้ในส่วนของเนื้อหา อยากให้ลองคิดดูเล่น ๆ ว่าถ้าในตัวบทความมีแต่ตัวหนังสือล้วนทั้งหน้าและมีความยาวที่หลากหลายบรรทัด คำถามคนที่เข้ามาจะทนอ่านจนหมดหรือไม่ แน่นอนว่าไม่ ผู้เขียนมือใหม่เราสามารถใส่คอนเท้นที่มีสีสรรค์ได้นั้นคือการนำสื่อมัลติมีเดียเข้ามาแทรกในระหว่างบทความได้ อาทิ รูปภาพ วีดิโอ ไฟล์เสียง หรือโปรแกรมที่มี iFrame (iFrame คือ ชุดโค้ดโปรแกรมเว็บไซต์ที่สามารถนำเข้ามาแทรกในตัวบทความให้แก่ผู้เข้ามาเยือนเว็บไซต์สามารถเข้ามาใช้งานหรือลองเล่นได้ในระหว่างอ่านบทความ) เพื่อให้เป็นสีสรรค์ของบทความและยังทำให้ตัวบทความของคุณเองดูน่าสนใจได้อีกด้วย
บทสรุป
ในส่วนบทสรุปนี้หรือบางคนอาจจะเรียกว่าบทส่งท้าย เป็นส่วนที่ไว้สำหรับการเขียนถึงบทสรุปในเรื่องราวที่เขียนมาทั้งหมด โดยส่วนใหญ่การเขียนสรุปนั้นจะใช้วิธีการสรุปเรื่องราวทั้งหมด เพื่อเป็นการเน้นย้ำประเด็นหลักในสิ่งที่ต้องการสื่อไว้ตั้งแต่แรกให้ผู้อ่านเข้าใจในจุดเดียวกัน และวิธีการให้ข้อคิดพิจารณาเพื่อให้ผู้ที่อ่านได้ใช้วิจารณญาณในการอ่านเรื่องราวทั้งหมดพร้อมได้รับข้อคิดไว้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
การพาดชื่อบทความให้ดูน่าสนใจ
ชื่อบทความเป็นจุดแรกที่ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ในการเลือกอ่านบทความ ซึ่งในปัจจุบันถ้าจะสร้างบทความสักเรื่องนึงเพื่อให้ได้เสียงตอบรับจากผู้เยี่ยมชมจนกลายเป็นกระแสหรือขายบทความจากสำนักสื่อได้ ล้วนมาจากการพาดหัวชื่อบทความทั้งสิ้น บางบทความชื่อบทความดูน่าสนใจแต่เนื้อหากลับไม่น่าสนใจก็มีเยอะ วิธีการพาดหัวสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบมากและไม่มีวิธีตายตัวขึ้นอยู่กับบริบท ในครั้งนี้แนะนำการพาดชื่อให้กับมือใหม่ทราบไว้ในเบื้องต้น
ตัวเลขบอกเคล็ดลับนับสิ่ง
เชื่อได้เลยว่าหลายคนอาจเคยเห็นมาบ้างแล้วในอินเตอร์เน็ตหรือแม้กระทั่งในสื่อสิ่งพิมพ์ นั้นก็คือการใช้ตัวเลขนำหน้าเพื่อใช้ในการบอกจำนวนเรื่องราวที่จะสื่อถึงผู้อ่าน ซึ่งเป็นวิธีคลาสสิคมากพบเห็นได้ทั่วไปและเป็นการพาดชื่อหัวข้อบทความที่ง่ายที่สุด เช่น 9 สถานที่มหัศจรรย์ของโลก, 6 อาหารต้องห้ามสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เป็นต้น
สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้อ่าน
เป็นการให้คำเชื่อมั่นสัญญากับผู้อ่านว่าถ้าอ่านบทความแล้วไปปฏิบัติตาม เขาจะได้รับหรือประสบพบเจอตามที่ผู้เขียนได้สัญญาเอาไว้ตั้งแต่แรก แต่บางครั้งเราสามารถใช้ตัวเลขนำหน้ามาช่วยในการพาดชื่อหัวข้อได้ด้วย เช่น 9 เทคนิคการขายให้มัดใจลูกค้า แถมได้ค่าคอมมิชชั่นสวย ๆ , ข้อห้ามสำหรับคนใช้โน้ตบุ๊ค ถ้าอยากให้อยู่กับเราไปนาน ๆ เป็นต้น
ตั้งคำถามเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ
อีกหนึ่งวิธีคลาสสิคในการพาดชื่อบทความและเป็นวิธีที่ผู้เขียนบทความนี้ใช้อยู่ด้วย (ไม่เชื่อลองเลื่อนไปที่ชื่อบทความดู) โดยเป็นการตั้งคำถามเพื่อให้ได้อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องการ ซึ่งวิธีนี้จะคล้าย ๆ กันกับข้อที่แล้วแต่เพียงเป็นการตั้งชื่อในรูปแบบคำถามให้กับผู้อ่านที่กำลังมีข้อสงสัยเพื่อตอบโจทย์กับสิ่งที่เขาต้องการ แต่บางครั้งเราอาจตั้งคำถามโดยไม่จำเป็นที่ต้องระบุสิ่งที่ต้องการก็ได้ เช่น มองชีวิตอย่างไร ในวันที่คาดเดาอะไรไม่ได้เลย, อ่านหนังสืออย่างไร ให้สมองจดจำมากที่สุด, เงินสร้างความสุขให้ชีวิตได้เสมอจริงไหม? เป็นต้น
ความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่ง
วิธีนี้อาจจะมองดูว่าง่ายเกินหรือดูไม่น่าสนใจสักเท่าไหร่ แต่ในความเป็นจริงกลับเป็นวิธีที่สร้างความสนใจให้กับผู้อ่านได้ไม่น้อยเลย เป็นการพาดชื่อหัวข้อโดยการนำของสองสิ่งมาเปรียบเทียบหรือสร้างความสัมพันธ์ เพื่อสร้างความเป็นนัยยะแฝงบางอย่างให้กับผู้อ่านว่าทั้งสองสิ่งนี้มันมีความเกี่ยวข้องอย่างไร ถึงแม้ว่าของบางอย่างในความเป็นจริงแล้วไม่มีทางเป็นไปได้เลย เช่น ความสำเร็จของเกรด 4 กับชีวิตจริงการทำงานที่ยิ่งกว่าละคร, ความเหลื่อมล้ำในสังคมเป็นเพียงแค่ “ความเชื่อ” หรือ “ค่านิยม” เป็นต้น
รูปแบบบทความ
รูปแบบการเขียนบทความในปัจจุบันที่พบเจอนั้นมีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกันได้แก่
รูปแบบ (Paragraph)
เป็นการเขียนบทความที่มีการแบ่งออกในแต่ละย่อหน้า ก็เหมือนที่เราเขียนเรียงความในวิชาภาษาไทยเลย เพียงแต่ว่าการเขียนเรียงความในรูปแบบนี้เหมาะกับการเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ หรือเรื่องราวที่มีเนื้อหาเดียว แต่ข้อจำกัดของการเขียนบทความรูปแบบนี้คือถ้าเขียนโดยที่ไม่ได้สร้างความดูดให้กับผู้อ่านในช่วงแรก ๆ มีโอกาสสูงที่ผู้อ่านทิ้งไปหน้าเว็บไซต์อื่นได้ทันที โดยการเขียนในรูปแบบนี้มักจะเจอบ่อยในบทความข่าว เรื่องราวชีวิตส่วนตัว (ไดอารี่) และบล็อก เป็นต้น
รูปแบบ (Bullet Point)
เป็นรูปแบบการเขียนบทความในลักษณะการแบ่งหัวข้อหลัก หัวข้อรอง และหัวข้อย่อย ซึ่งเป็นรูปแบบที่เหมาะกับการเขียนบทความในอินเตอร์เน็ตมาก โดยเฉพาะผู้เขียนบทความมือใหม่แนะนำควรเขียนในรูปแบบนี้ เนื่องจากมีการแบ่งแยกหัวข้อทำให้ง่ายต่อการอ่านบทความและผู้อ่านสามารถเลือกหัวข้อที่ต้องการอ่านภายในบทความนั้นได้อย่างอิสระ แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นตัวจับสายตาและบังคับให้ผู้อ่านอ่านแบบคร่าว ๆ ได้นั้นก็คือ “หัวข้อ” เพราะหัวข้อเป็นตัวที่ดึงดูดสายตาผู้อ่าน ถึงแม้ว่าผู้อ่านจะไม่ได้อ่านแบบจริงจังแต่ทำให้รู้ว่าภายในบทความนั้นมีหัวข้ออะไรบ้าง ถ้ามองโดยภาพรวมของบทความประเภทนี้สายตาของผู้อ่านจะโฟกัสบริเวณที่หัวข้อ ทำให้บริเวณที่โฟกัสมีลักษณะคล้ายกับตัว F ซึ่งสิ่งนี้เรียกว่า F Panel นั้นเอง เหมาะกับการเขียนบทความแทบทุกประเภท และยังเป็นรูปแบบที่เหมาะแก่การเริ่มต้นให้กับมือใหม่หัดเขียนบทความอีกด้วย
การเลือกใช้ฟ้อนต์
การใช้ฟ้อนต์นั้นเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่นักเขียนบทความมือใหม่ต้องรู้จักการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการแสดงเนื้อหาบทความ โดยคำนึงถึงการอ่านที่สบายตาและเป็นมิตรกับผู้อ่านให้มากที่สุดด้วย ทีนี้เรามาทำความรู้จักกับประเภทของฟ้อนต์กันว่าในปัจจุบันมีฟ้อนต์แบบไหนบ้าง
Serif
ฟ้อนต์ Serif คือฟ้อนต์ที่มีหัวในตัวอักษรบางคนอาจจะเรียกว่าฟ้อนต์ที่มีเชิง ให้ความรู้สึกหรูหรา ดูเป็นทางการ น่าเชื่อถือ ซึ่งฟ้อนต์ประเภทนี้มักจะถูกนำไปในตัวเนื้อหาบทความ เพราะเป็นฟ้อนต์ที่ดูอ่านง่ายที่สุด ตัวอย่างฟ้อนต์ที่นิยมใช้กันได้แก่ TH Sarabun, Angsana New, Cordia New เป็นต้น
แต่สิ่งหนึ่งที่ควรระวังและหลีกเลี่ยงการใช้ฟ้อนต์ประเภท Script ถึงแม้ว่าจะเป็นฟ้อนที่มีเชิงหรือหัว แต่ด้วยฟ้อนต์ลักษณะนี้จะมีตัวลายตวัดแล้วเรียงกันหลายบรรทัดจะทำให้ยากต่อการอ่านและสร้างความมึนงงให้แก่ผู้อ่านได้
San Serif
ฟ้อนต์ San Serif สังเกตที่มีคำว่า “San” นั้นแปลว่าไม่ คงเดากันไม่ยากนั้นก็คือฟ้อนต์ที่ไม่มีหัวในตัวอักษร ให้ความรู้สึกที่ดูสมัยใหม่ และเรียบง่าย ซึ่งฟ้อนต์ประเภทนี้มักจะถูกใช้พาดหัวข้อบทความหรือแบ่งหัวข้อหลักและหัวข้อรอง เพื่อช่วยให้สายตาของผู้อ่านมาโฟกัสตรงที่หัวข้อแต่ละหัวข้อในบทความมากขึ้น ตัวอย่างฟ้อนต์ที่นิยมใช้กันได้แก่ Ekkamai, FC Friday, FC SaveSpace เป็นต้น
ข้อควรระวังในเรื่องของการเขียน
เขียนเนื้อหาให้อยู่ในเรื่องเดียวกัน
ในการเขียนบทความแต่ละเรื่องนั้นควรมีการวางแผนก่อนว่าในเรื่องนั้นเขียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง โดยมีการกำหนดหัวข้อที่ต้องการเขียนให้ชัดเจน รวมไปถึงการเรียงลำดับหัวข้อก่อน-หลัง เพื่อให้ผู้อ่านบทความไม่สับสน อ่านเข้าใจง่ายและตีความเนื้อหาง่ายขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนบทความมือใหม่ควรระวังคือการเขียนเนื้อหาแล้วหลุดออกจากหัวที่กำหนดไว้ ถ้าให้เข้าใจง่ายขึ้นคือเขียนออกนอกเรื่องนั้นเอง เพราะอาจจะทำให้ผู้อ่านบทความสับสนหรือบางคนอาจคิดว่าบทความของเราดูไร้สาระไปเลย
ตรวจทานบทความก่อนเผยแพร่
เมื่อเขียนบทความเสร็จแล้วใช่ว่าเราสามารถนำบทความไปเผยแพร่บนเว็บไซต์ต่อได้เลย ควรมีการตรวจทานทุกครั้ง โดยการนำบทความที่เขียนนั้นให้เพื่อนสนิท คนรู้จัก หรือใครก็ได้อ่านบทความของเราแล้วสอบถามรายละเอียดว่าบทความของตัวเองนั้นมีข้อปรับปรุงตรงไหน มีจุดใดที่ผิดพลาดบ้าง เพื่อนำเสียงจากผู้ที่อ่านบทความของเราไปปรับปรุงต่อไปให้ดีขึ้นแล้วจึงอัพลงในเว็บไซต์ต่อไป
ให้เครดิตทุกครั้ง
ไม่ว่าเราเขียนบทความอะไรก็ตามแต่ เมื่อเราศึกษารายละเอียดในหัวข้อที่ตัวเองสนใจอย่างถ่องแท้แล้วทำการเขียนบทความลงไป ต้องมีการใส่แหล่งอ้างอิงด้วยว่าบทความนี้มีแหล่งอ้างอิงจากที่ใด หนังสือ เว็บไซต์อะไร เพื่อเป็นการให้เครดิตเจ้าของผลงาน มิฉะนั้นอาจเกิดปัญหาในเรื่องของลิขสิทธิ์ตามมาในภายหลังได้
แม้ว่าในบทความออน์ไลน์ในปัจจุบันลักษณะการเขียนที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนเลือกปฏิบัติเหมือนกันนั้นคือการนำคอนเทนต์ที่เขียนไปต่อยอดในด้านธุรกิจหรือวัตถุประสงค์อื่น ๆ แต่การที่เขียนบทความลงในออนไลน์นั้นไม่มีสิ่งใดที่เรียกว่าผิดถูกหรือกฏเกณฑ์ที่ตายตัว แต่ขอให้จำเอาไว้ว่าทุกอย่างควรเขียนในฉบับเป็นของตัวเอง แล้วสุดท้ายนี้เราหวังว่าบทความนี้คงเป็นแนวทางในการเขียนและได้เป็นจุดประกายให้แก่ผู้เขียนบทความทุ