ขึ้นชื่อการสองคำนี้หลายคนคงจะรู้จักกันดีเนื่องจากในปัจจุบันผู้คนใช้งานในอินเตอร์เน็ตในบ้านเรานั้นเรียกได้ว่ามีผู้ใช้งานเยอะอยู่พอสมควร ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูล จองห้องพัก หรือแม้กระทั่งการทำธุรกิจ แต่ถ้าหากว่าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีธุรกิจออนไลน์เป็นของตัวเองแล้วต้องการเพิ่มยอดขาย เจาะตลาดผู้คนหรือแสวงหาลูกค้าใหม่ ๆ อยู่เสมอนั้นแน่นอนว่าต้องพึ่งวิธีการโปรโมทร้านค้าโดยการทำโฆษณาออนไลน์ คำถามคือระหว่าง Facebook Ads และ Google Ads ต้องใช้แพลตฟอร์มไหนในการทำโฆษณาออนไลน์ที่ตอบโจทย์กับธุรกิจของคุณมากที่สุด ซึ่งยังคงเป็นคำถามที่สร้างความสงสัยให้กับผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์อยู่ไม่น้อย สำหรับในบทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกระบวนการทำโฆษณาทั้งสองแพลตฟอร์มนี้ให้กระจ่างไปพร้อมกัน
Facebook Advertisement (Facebook Ads)
เริ่มทำความรู้จักจากแพลตฟอร์มที่มี Community ใหญ่ที่สุดอย่าง Facebook ที่มีจำนวนผู้ใช้งานเยอะที่สุดในโลก เนื่องจากในแพลตฟอร์มนี้จะเน้นในเรื่องของ Community เป็นส่วนใหญ่ ด้วยความที่มีผู้คนใช้งาน Facebook เป็นจำนวนมากขึ้นทำให้เกิดบางคนมีการใช้ช่องทางนี้ในการประกอบธุรกิจมากขึ้น จึงให้ Facebook ได้เปิดตัวเครื่องมือบริการที่ใช้ในการโปรโมทร้านค้าธุรกิจ เพื่อเพิ่มยอดขายมากขึ้นนั้นก็คือ Facebook Advertisement (Facebook Ads)
Facebook Ads ทำงานอย่างไร
กระบวนการทำงานของ Facebook Ads นั้นจะอาศัยในเรื่องของพฤติกรรมความสนใจของผู้ใช้งานแต่ละคน ซึ่งในตัวของ Facebook เองมีระบบ A.I. ที่คอยตรวจจับว่าผู้ใช้งานแต่ละคนนั้นมีความสนใจในเรื่องอะไร ต้องการอะไร ชื่นชอบเรื่องใดบ้างเป็นพิเศษ โดยดูจากการกิจกรรมประวัติการกดไลก์ ประวัติการค้นหา การติดตาม การแชร์โพสต์ หรือแม้แต่การสนทนากับเพื่อน ตัว Facebook Ads ก็จะทำการปรากฏโพสต์ที่มีเรื่องราวที่เราสนใจในหน้า Feed ของผู้ใช้งานที่มาพร้อมกับข้อความกำกับว่าโพสต์นี้หรือเพจนี้ได้รับการสนับสนุน นอกจากการ Facebook Ads ที่มาปรากฏในหน้า Feed แล้ว อาจมาปรากฏในหน้าบริการต่าง ๆ ภายใน Facebook หรือในแอพพลิเคชั่นในเครือของ Facebook เช่น Facebook Messenger, Facebook Market, Facebook Video, Instagram เป็นต้น
Facebook Ads เริ่มชำระเงินเมื่อไหร่
การชำระเงินของการเกิดโฆษณานั้นจะวัดที่จำนวนของผู้คนเห็นโพสต์โฆษณาที่ปรากฏในหน้าฟีดหรือส่วนต่าง ๆ ของ Facebook โฆษณาจะเริ่มทำงานขึ้นก็ต่อเมื่อมีการชำระเงินเกิดขึ้น Facebook Ads เริ่มทำงานทันที แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณที่ผู้ประกอบธุรกิจตั้งเอาไว้ เพราะหากยิ่งตั้งงบประมาณไว้สูง โอกาสที่ผู้คนมองเห็นโพสต์และเข้าถึงร้านค้าของเรามากเช่นเดียวกัน หากตั้งงบประมาณในระดับขั้นต่ำที่ Facebook ได้กำหนดไว้ โอกาสที่มีผู้คนมองเห็นและเข้าถึงร้านค้าของเราก็มีเพิ่มขึ้นในระดับส่วนหนึ่ง เพราะฉะนั้นในการวางงบประมาณในการทำโฆษณานั้นควรมีการคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองให้ดีก่อนที่ทำการยิงโฆษณาว่ามีความคุ้มค่าต่อการประกอบธุรกิจของเราหรือไม่ เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียงบประมาณในการทำโฆษณาอย่างสูญเปล่า
Facebook Ads เหมาะกับธุรกิจระดับใด
การทำ Facebook Ads นั้นเหมาะสำหรับธุรกิจออนไลน์ได้เกือบทุกรูปแบบตั้งแต่ร้านค้าขนาดเล็ก (B2C) จนถึงระดับองค์กร (B2B) เพราะในช่องทางแพลตฟอร์มนี้ตามที่ได้กล่าวไปเมื่อข้างต้นคือเน้น Community กันเป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นสำหรับการทำธุรกิจในระดับใดก็ตามแต่ที่ต้องการให้ผู้คนรู้จักธุรกิจของเรา เพื่อหวังให้กลุ่มคนเหล่านี้สามารถเข้าถึงธุรกิจร้านค้าของเราได้ เรียกได้ว่าเป็นช่องทางที่สามารถเข้าถึงผู้คนได้ครอบคลุมมากที่สุด
Google Adwords (Google Ads)
มาในส่วนของผู้บุกเบิกการทำโฆษณาออนไลน์อย่างในฝั่ง Google Adwords (Google Ads) บ้าง ซึ่งในแพลตฟอร์มนี้เนื่องด้วยเป็น Search Engine ที่ผู้คนนิยมค้นหาข้อมูลเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ในปัจจุบันเวลาที่ผู้คนต้องการอะไรในชีวิตประจำวันมักจะหยิบโทรศัพท์เพื่อทำการค้นหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงบริการเว็บไซต์ต่าง ๆ อย่าง Facebook, Instagram หรือการค้นหาข้อมูลโดยอาการหาบทความ การจองที่พัก ข้อมูลสถานที่ หรือแม้แต่การค้นหาร้านค้าออนไลน์เอง สำหรับในแพลตฟอร์มนี้จะมีความแตกต่างจาก Facebook ตรงที่ว่าทุก ๆ การโปรโมทร้านค้าหรือการทำโฆษณาต้องมีช่องทางสำหรับให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงธุรกิจร้านค้าของเราได้นั้นก็คือ Website
Google Ads ทำงานอย่างไร
การทำงานของ Google Ads นั้นมีหลายรูปแบบ แต่ในสำหรับบทความนี้จะขอหยิบยกรูปแบบที่เห็นได้บ่อยมากที่สุด
แบบที่ 1 : SEM (Search Engine Marketing)
คือกระบวนการทำการตลาดในแพลตฟอร์มของ Google หากทำโฆษณาในรูปแบบนี้จะอาศัยผ่านคำการค้นหาของผู้ค้นหาหรือที่เรียกว่า Keyword ซึ่งผู้ประกอบกิจการหรือเจ้าของร้านต้องมีการวิเคราะห์ว่าธุรกิจของตัวเองนั้นเหมาะกับ Keyword คำไหนที่สามารถเรียกจำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้ (Traffic) เพื่อให้เว็บไซต์ของเราไปแสดงผลลัพธ์ในหน้า SERP (Search Engine Result Page) อันดับต้น ๆ ในหน้าดังกล่าวได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นในการทำโฆษณานั้นต้องมีการทำ SEO ควบคู่ด้วย หากใครที่ไม่รู้จักว่า SEO คืออะไรสามารถเข้าไปอ่านบทความของเราได้คลิกที่นี่
แบบที่ 2 : GDN (Google Display Network)
คือการแสดงหน้าโฆษณาที่แสดงอยู่ในรูปแบบของ Banner บนเว็บไซต์อื่น ๆ ซึ่งการทำโฆษณาในรูปแบบนี้หลายคนมักจะพบเห็นบ่อยโดยเฉพาะเว็บไซต์ที่มีบทความหรือหน้าดาวน์โหลด และเป็นรูปแบบโฆษณาที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ข้อดีของการโฆษณารูปแบบนี้คือสามารถเข้าถึงกลุ่มตลาดลูกค้าได้ง่ายและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจของตัวเอง
Google Ads เริ่มชำระเงินตั้งแต่เมื่อไหร่
การชำระเงินของ Google Ads ผู้ประกอบธุรกิจร้านค้าออนไลน์นั้นสามารถเลือกรูปแบบการชำระได้สองแบบได้แก่
Cost Per Click (CPC) เมื่อผู้คนเริ่มมีการคลิกเข้าโฆษณาของเรา Google ก็เริ่มทำการเก็บเงินทันที แต่ต้องมีการตั้งแคมเปญใน google ads ก่อนจึงจะสามารถใช้งานได้
Cost Per Thousand Viewable Impressions (vCPM) เมื่อโฆษณาได้มีการแสดงผลบนหน้าเว็บไซต์เป็นจำนวนครบ 1000 ครั้ง Google จะตัดยอดค่าโฆษณาทันที ถึงแม้ว่าโฆษณานั้นมีคนเข้ามาคลิกรับชมหรือไม่ก็ตาม
Google Ads เหมาะกับธุรกิจแบบใด
สำหรับการทำโฆษณา Google Ads นั้นจะเหมาะกับธุรกิจร้านค้าที่มีผู้คนรู้จักมากในระดับหนึ่งซึ่งมักจะเป็นกลุ่มธุรกิจประเภท B2B โดยส่วนใหญ่การทำโฆษณาออนไลน์นั้นอาศัยการจ้างทีมงานที่คอยดูแลในเรื่องการทำโฆษณา ส่วนใหญ่ก็คือกลุ่ม Agency ที่เชี่ยวชาญในเรื่องของการทำโฆษณาออนไลน์เพื่อให้ธุรกิจของเรานั้นมีมูลค่า เพิ่มโอกาสทางธุรกิจและสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าและผู้ใช้งานทั่วไป เพื่อแปลงสภาพผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตให้กลายมาเป็นลูกค้าในอนาคตได้เช่นเดียวกัน
หวังว่าในบทความนี้จะช่วยตัดสินใจให้กับผู้ประกอบกิจการธุรกิจในเรื่องของการทำโฆษณาในการโปรโมทร้านค้าได้ และเข้าใจกระบวการทำงานโฆษณาในแต่ละแพลตฟอร์ม เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลกระจายข่าวสารและเข้าถึงผู้คนผู้ใช้งานได้ก็คงหวังว่าสักวันหนึ่งธุรกิจของคุณจะเติบโตและสวยงามตามที่คุณคาดหวังไว้และเป็นจริงในอนาคต